อุตสาหกรรมกระดาษดั้งเดิม จะอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่ใช้วัตถุดิบไม้จากป่าธรรมชาติ ซึ่งเป็นไม้อายุกว่า 50 ปี แต่สำหรับ ดั๊บเบิ้ล เอ การพัฒนาอุตสาหกรรมกระดาษยุคใหม่ อยู่บนแนวคิดของการพัฒนาการเกษตรของไทย อันเป็นรากฐานหลักของประเทศ ด้วยการพัฒนาไม้เกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบ โดยอาศัยความได้เปรียบของประเทศทั้งในด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศความสามารถและความชำนาญด้านการเกษตรของคนไทย ทำให้สามารถใช้ต้น กระดาษ ดั๊บเบิ้ล เอ อายุเพียง 3-4 ปี เป็นวัตถุดิบที่ยั่งยืน ทำให้ ดั๊บเบิ้ล เอ เป็นกระดาษจากไม้ปลูกของเกษตรกรไทย ไม่ใช้ไม้จากป่าธรรมชาติอย่างเด็ดขาด
กระดาษ ดั๊บเบิ้ล เอ จึงมีวัฎจักรหมุนเวียน เริ่มจากแสงแดดแหล่งพลังงานที่ไม่ต้องซื้อหาสังเคราะห์แสงเป็น ต้น กระดาษที่เติบใหญ่ อยู่ในการเลี้ยงดูของเกษตรกรนับล้านครอบครัวผลัดกันยืนต้นปกคลุม ผืนดินในพื้นที่ที่เคยรกร้างหรือตามแปลงคันนาที่ไม่เคยใช้ประโยชน์ เพิ่มพูนความชุ่มชื้นสู่อากาศโดยรอบ สร้างออกซิเจนสู่บรรยากาศ 1.6 ล้านตันต่อปี และช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ 2.4 ล้านตันต่อปี เป็นพื้นที่การเกษตรสีเขียวที่มีผู้ดูแล และผู้ดูแลก็คือเกษตรกรที่มีผลตอบแทน มีรายได้ มีอาชีพที่ยั่งยืนไปด้วยพร้อม ๆ กัน สอดคล้องกลมกลืนกับการเกษตรแบบสวนผสมของเกษตรกรไทย สามารถปลูกต้น กระดาษ ดั๊บเบิ้ล เอ ควบคู่กับพืชเกษตรอื่น โดยใช้เวลาว่างจากการปลูกพืชตามฤดูกาลในแต่ละปี เป็นการลดการว่างงานแอบแฝงในภาคการเกษตร เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และลดปัญหาสังคมในชุมชนอีกด้วย